ตราสัญลักษณ์ของอาเซียนเป็นต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้นมัดรวมกันหมายถึงการร่วมมือร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวในกลุ่มสมาชิกอาเซียน
10 ประเทศ ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม
ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มาเลเซีย
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียนนาม และประเทศไทย
สีเหลืองของรวงข้าวหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองอยู่บนพื้นสีแดงอันหมายถึงความกล้าหาญและความก้าวหน้าโดยมีขอบเส้นวงกลมสีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์
ทั้งหมดวางอยู่บนพื้นสีน้ำเงินอันหมายถึงสันติภาพและความมั่นคง
รู้จักอาเซียน
คำว่า “อาเซียน” มาจากตัวย่อ ASEAN ในชื่อภาษาอังกฤษของ “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” คือ The Association Of Southeast Asian Nations สมาคมดังกล่าวถือกำเนิดจากการประกาศ
“ปฏิญญากรุงเทพ” ( Bangkok
Declaration ) ในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 เพื่อให้เป็นสมาคมร่วมมือในระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
มีประเทศสมาชิกเมื่อเริ่มก่อตั้ง 5 ประเทศ
ได้แก่ อินโดนีเซีย ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์
นับตั้งแต่วันก่อตั้ง อาเซียนได้พยายามแสดงบทบาทในการธำรงรักษา
และส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง และความเจริญร่วมกันในภูมิภาค
มีวัฒนาการอย่างต่อเนื่องในการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศสมาชิก
ตลอดจนพัฒนาการเรื่องความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสังคม
จนเป็นที่ประจักษ์แก่นานาประเทศทำให้ประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เข้าร่วมเป็นสมาชิกมากขึ้น
ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม รวมถึงประเทศที่เคยอยู่ค่ายคอมมิวนิสต์มาก่อนด้วย เช่น
เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชาเข้ามาเป็นสมาชิกล่าสุด
ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์
สิงคโปร์ ไทย บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา
มีปาปัวนิวกินี กับติมอร์ตะวันออกที่กำลังอยู่ระหว่างการเจรจาเข้าเป็นสมาชิก
ปฏิญญากรุงเทพ ( Bangkok Declaration ) ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7
ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ
สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร
2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี
5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
ในรูปของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษาด้านเอเซียนตะวันออกเฉียงใต้
6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม
การขยายการค้าตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอกองค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ
และองค์การระหว่างประเทศ
หน่วยงานของอาเซียนที่สำคัญ
สำนักเลขาธิการอาเซียน
หรือ ASEAN Secretariat อยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
เป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (ASEAN
Secretary-General )
เป็นหัวหน้าสำนักงานมีวาระดำรงตำแหน่ง 5
ปี
สำนักงานอาเซียนแห่งชาติ
หรือ ASEAN National
Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรม
ในกระทรวงการต่างประเทศประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน
มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนในประเทศนั้นและติดตามผลการดำเนินงาน
สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียนกระทรวงการต่างประเทศ
ข้อมูลเฉพาะของอาเซียน
ความสำคัญ
อาเซียนมีพัฒนาการจนเป็นองค์กรสำคัญระดับภูมิภาคของโลกคลายกับสหภาพยุโรป
โดยมีเป้าหมายในการรวมตัวกันให้เข้มแข็งยิ่งขึ้นในนาม ประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ.
25558
ประธานอาเซียน
ประเทศอินโดนีเซีย ( พ.ศ. 2554
) อยู่ในตำแหน่ง 1 ปี หมุนเวียนไปตามตังอักษรชื่อประเทศในภาษาอังกฤษตังแรก
เลขาธิการอาเซียน
ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ ( พ.ศ. 2551- พ.ศ. 2555 ) อยู่ในตำแหน่ง 5 ปีโดยการคัดเลือกของประเทศสมาชิกอาเซียน
โดยมีที่ตั้งสำนักงานอาเซียนอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
ประเทศสมาชิกอาเซียน
มีจำนวน 10 ประเทศ ได้แก่ ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งอาเซียน คือ
อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ส่วนประเทศที่เป็นสมาชิกต่อมา
คือ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม ลาว พม่า กัมพูชา (
ติมอร์ตะวันออกและปาปัวกินีอยู่ระหว่างการพิจารณาคุณสมบัติในการเข้าเป็นสมาชิก
โดยไม่ขัดต่อกฎบัตรประชาคมอาเซียน )
พื้นที่อาเซียน
( รวมกันทั้ง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน) 4,464,322 ตารางกิโลเมตร
ประชากรอาเซียน
มีประชากรประมาณ 575 ล้านคน หรือประมาณ 1 ใน 10 ของประชากรโลก
เอกสารสำคัญที่เป็นข้อตกลงในอาเซียน
ปฏิญญากรุงเทพ ( พ.ศ. 2510
) และกฎบัตรอาเซียน ( ลงนามเมื่อ พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551)
ประเทศคู่เจรจาทางเศรษฐกิจการค้า
สังคม คือ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา
รัสเซีย แคนาดา และสหภาพยุโรป
สินค้าส่งออกของอาเซียน
คือ น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เครื่องจักร
เคมีภัณฑ์
ก่อนเกิดอาเซียน
ก่อนจะมาเป็นสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน
ได้เกิด“สมาคมอาสา”(ASA, Association of South East Asia) ขึ้นก่อน เมื่อกรกฎาคม 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
ได้ร่วมกันจัดตั้ง เพื่อการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
แต่ดำเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง
เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียกับมาเลเซีย
จนเมื่อทั้งสองฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างกัน
จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาคขึ้นอีกครั้ง
เกิดเป็น“สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” (ASEAN- The Association of
Southeast Asian Nations) โดยมีการลงนาม
“ปฏิญญากรุงเทพ” (Bangkok Declaration) หรือปปฏิญญาอาเซียนที่พระราชวังสราญรมย์
ซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม
พ.ศ. 2510 ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง
5 ประเทศ ได้แก่ อาดัม มาลิก แห่งอินโดนิเซีย
,นาร์ซิโซ รามอส แห่งฟิลิปปินส์, อับดุล ราซัค
แห่งมาเลเซีย, เอส. ราชารัตนัม แห่งสิงคโปร์และถนัด คอมันตร์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย
สมัยรัฐบาลจอมพล ถนอม กิติขจร ถนัด
คอมันตร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งอาเซียนด้วย
สรุปลำดับเหตุการณ์ต่างๆ
รวมเป็นอาเซียนมีแต่ประโยชน์
ความประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มอาเซียน
เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก
ประเทศในโลกประชาธิปไตยกำลังกังวลต่อการเผยแพร่ของลัทธิคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น
ความศรัทธาเชื่อถือต่อประเทศมหาอำนาจภายนอกที่เสื่อมถอยลงในช่วงพุทธทศวรรษ 2500
รวมไปถึงความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยสนับสนุนความเป็นชาตินิยม
พึ่งพาตนเอง จึงมีการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มประเทศอาเซียนขึ้น
หลังจากประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียนทั้ง
5 ได้ร่วมลงนามในการปฏิญญากรุงเทพแล้ว ต่อมาประเทศบรูไนดารุสซาลาม
ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกเป็นประเทศที่ 6 เมื่อวันที่
8 มกราคม พ.ศ. 2527 ซึ่งห่างจากวันที่บรูไนประกาศเอกราชเมื่อวันที่
1 มกราคม เพียงสัปดาห์เดียว
ต่อมา
เวียดนามเข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่ 7 ในวันที่
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ไม่นานหลังจากนั้นลาวและพม่าได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่ 8 และ 9 ตามลำดับ
ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ส่วนกัมพูชามีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิก
แต่ถูกเลื่อนออกไปจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศจนกระทั้งในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2542 กัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่
10 หลังจากรัฐบาลกัมพูชามีความมั่นคงแล้ว
ในวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 โจเซ รามุส-ออร์ตา
นายกรัฐมนตรีแห่งติมอร์ตะวันออกได้ลงนามในความต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนอย่างเป็นทางการปัจจุบันติมอร์ตะวันออกอยู่ในฐานะประเทศผู้สังเกตการณ์เป็นเวลา
5 ปี
ก่อนที่จะได้รับสถานภาพเป็นประเทศสมาชิกอย่างสมบูรณ์
จาก
10 ประเทศ
หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวในนามของอาเซียนทำให้มีความแข็งแกร่ง
การหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว กลุ่มประเทศสมาชิกได้รับประโยชน์มากมาย
เศรษฐกิจฟูเฟื่อง
เมื่อมีประเทศสมาชิกอาเซียนมากขึ้น
ในปี พ.ศ. 2533
มาเลเซียได้เสนอให้มีความร่วมมือทางเขตเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกซึ่งประกอบด้วยประเทศกลุ่มสมาชิกอาเซียน
สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้
โดยมีเจตนาเพื่อถ่วงดุลอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาซึ่งเพิ่มพูนมากขึ้นในความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก
( APEC ) และภูมิภาคเอเชียโดยรวม
แต่ละข้อเสนอดังกล่าวถูกยกเลิกไปในครั้งแรก
เพราะได้รับการคัดค้านอย่างหนักจากญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา
แม้ว่าจะประสบความล้มเหลวในด้านดังกล่าว
แต่กลุ่มสมาชิกก็ยังสามารถดำเนินการในการรวมกลุ่มประเทศให้เป็นหนึ่งเดียวกันต่อไปได้
ใน
พ.ศ. 2535 มีการลงนามใช้แผนอัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน
( Common Effective
Preferential Tariff )
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน
ในฐานะที่เป็นฐานการผลิตที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก
โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้า
และการลดภาษีและอุปสรรคข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี
รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวยต่อการค้าเสรี
โดยกฎหมายดังกล่าวเป็นโครงร่างสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน
หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชียในปี พ.ศ. 2540 ข้อเสนอของมาเลเซียถูกหยิบยกขึ้นมาอีกครั้งในจังหวัดเชียงใหม่หรือที่รู้จักกันว่า
“การริเริ่มเชียงใหม่”
ซึ่งเป็นการร่วมกลุ่มระหว่างกลุ่มสมาคมอาเซียนและประเทศในเอเชียอีก 3 ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ หรือเรียกว่า ASEAN+3
ภูมิภาคมั่นคง
ในวันที่
15 ธันวาคม พ.ศ. 2538 มีการลงนามสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เพื่อให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์
สนธิสัญญาฉบับดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นการห้ามอาวุธนิวเคลียร์ทุกประเภทในภูมิภาค
หลังจากปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน
ฉบับที่ 2 ( Bali Concord ll ) ในปี พ.ศ. 2546
กลุ่มประเทศอาเซียนได้ลงนามในความตกลงว่าด้วย
“ทฤษฎีสันติภาพประชาธิปไตย” ซึ่งหมายความว่า
ประเทศสมาชิกทุกประเทศมีความเชื่อว่ากระบวนการตามหลักการประชาธิปไตยจะทำให้เกิดสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคนอกจากนั้น
ประเทศอื่นที่มิได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันต่างก็เห็นว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ประเทศสมาชิกอื่นๆควรใฝ่หา
ผนึกกำลังสิ่งแวดล้อม
เมื่อก้าวเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่
21 ประเด็นปัญหาเริ่มมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
โดยกลุ่มประเทศสมาชิกได้เริ่มเจรจากันถึงข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อม
ประเด็นปัญหาถกกันในเวลานั้นคือปัญหาฟ้าหลัว ซึ่งเป็นมลภาวะบนท้องฟ้า
อันเกิดจากฝุ่นละอองเล็กๆ ที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ลอยคละคลุ้งไปในอากาศ
จนฟ้าหลัว
จึงเกิดการลงนามในข้อตกลงมลภาวะฟ้าหลัวระหว่างประเทศสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ในปี พ.ศ. 2545 เพื่อพยายามจำกัดขอบเขตของมลภาวะฟ้าหลัว
ในเขตพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
แต่ทว่าในพื้นที่ก็ยังเกิดปัญหาฟ้าหลัวในประเทศมาเลเชีย เมื่อปี
พ.ศ.2548
และและปัญหาฟ้าหลัวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี พ.ศ.2549
สนธิสัญญาฉบับอื่นที่ไดการลงนามโดยสมาชิกอาเซียน
ได้แก่ ปฎิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออกเครือข่ายกำกับดูแลสัตว์ป่าอาเซียนในปี
พ.ศ.2549 และหุ้นส่วน เอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยการพัฒนาความสะอาดและสภาพอากาศ ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อปรากฏการโลกร้อน
และผลกระทบทางด้านลบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศใน พ.ศ.2550ปฏิญญาเซบูว่าด้วยความมั่นคงทางพลังงานเอเชียตะวันออก ซึ่งลงนามในกลุ่มอาเซียน ร่วมกับจีนญี่ปุ่น
เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
เป็นการสร้างความมั่นคงทางพลังงานด้วยการหาพลังงานทางเลือกเพื่อใช้ทดแทนเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
ให้ความสำคัญด้านศิลปวัฒนธรรม
-รางวัลซีไรต์(southeast Asian writers award)มีชื้อเต็มว่า
รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์แห่งอาเซียน
ซึ่งจัดขึ้นตั่งแต่ปี พ.ศ.2522 เพื่อมอบรางวัลให้แก่นักประพันธ์หรือนักเขียนในเอเชียตะวันออกเฉลียงใต้ที่ไดสร้างผลงานที่ดีมีชื่อเสียงประสบความสำเร็จในช่วงชีวิตของนักเขียนนั้นๆ
ผลงานนั้นเป็นผลงานเขียนทุกประเภท ทั้งวรรณกรรมต่างๆเรื่องสั้น กลอน
รวมไปถึงผลงานทางศาสนา ซึ่งจะมีการจัดงานที่กรุงเทพมหานคร
โดยมีเชื้อพระวงศ์ของราชวงศ์ไทยเป็นผู้พระราชทานรางวัล
นี่คือรูปธรรมของการรวมตัวเป็นกลุ่มประเทศอาเซียน
ร่วมกันพัฒนาศิลปวัฒนธรรมของประเทศในกลุ่มสมาชิก
-กีฬาชีเกมส์ (SEA game-southeast Asian games) จัดขึ้น 2 ปีต่อ
1 ครั้ง ก็เป็นกิจกรรมในส่วนนี้ของชาวเอเชียแต่เดิมเรียกกีฬาเกมส์ว่า
กีฬาแหลมทอง จนกระทั่งปี 2520 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ชีเกมส์
การแข่งขันดำเนินตามกฎข้อบังคับของสมาพันธ์(southeast asiangames federation) โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล(international olympiccommittee หรือ IOC ) และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย(Olympic council of asia)
นอกจากนี้ยังมีสถาบันเพื่อการศึกษาขั้นสูงแห่งอาเซียน
เป็นองค์การเอกชนที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2499
เพื่อพัฒนาระดับการการศึกษาในระดับสูงขึ้น ทั้งสถาบันการศึกระดับสูง กรสอน
การบริการสาธารณะที่ดีได้มาตรฐานที่สูงขึ้น
โดยสอดคล้องไปกับวัฒนธรรมและพื้นที่นั้นๆและมีการจัดตั้งอุทยานมรดกขึ้นในปี พ.ศ.2527 และเริ่มใหม่อีกรอบในปี พ.ศ. 2547 เพื่อรวมรายชื่อของอุทยานแห่งชาติทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยมีจุดประสงค์ที่จะทำการอุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมป่าไม้ปัจจุบันมีรวมทั้งหมด 35 แห่ง
อนาคตอันรุ่งโรจน์ของประชาคมอาเซียน
ในปี
พ.ศ.2550 กลุ่มอาเซียนได้เฉลิมฉลองในวาระครบ 40 ปีการก่อตั้งกลุ่มอาเซียน และครบรอบ 30 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตกับสหรัฐอเมริกา วันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มอาเซียนตั้งเป้าที่จะบรรลุข้อตกลงการค้าเสรีทุกฉบับกับจีน
ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ภายในปี 2556ไปพร้อมกับการก่อตั้งสมาคมเศรษฐกิจอาเซียน
ภายในปี พ.ศ. 2558
ในเดือนพฤศจิกายน 2550 กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน
ซึ่งเป็นกฎข้อบังคับในการดูแลความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน
และยกระดับกลุ่มอาเซียนให้เป็นองค์การระหว่างประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
เขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2553
นับเป็นการค้าเสรีที่มีประชากรมากที่สุดในโลกและมีมูลค่า จีดีพี(GDP :gross domestic product – ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ)คิดเป็นอันดับ 3 ของโลก
วันที่27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 มีการลงนามการตกลงการค้าเสรีระหว่างภูมิภาคอาเซียน 10 ประเทศ กับนิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย
มีการประเมินว่าความตกลงการค้าเสรีนี้จะเพิ่มจีดีพีใน 12 ประเทศข้นมากกว่า 48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ระหว่าง พ.ศ.2553-2563
ปี พ.ศ. 2555ติมอร์ตะวันออกมุ่งหวังจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนลำดับที่ 11 โดยมีการยื่นจดหมายขอสมัคเข้าร่วมเป็นสมาชิกต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนในอินโดนีเซียระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำในกรุงจาการ์ตา
ซึ่งอินโดนีเซียแสดงท่าทีต้อนรับติมอร์ตะวันออกอย่างอบอุ่น แม้จะมีกระแสไม่เห็นด้วยอยู่บ้าง
เนื่องจากติมอร์ตะวันออกเป็นประเทศยากจน ในขณะที่อาเซียนก็ต้องมีภาระต้องดูแลประเทศสมาชิกเดิมค่อนข้างมากยุแล้ว ขอบคุณแหล่งที่มา : หนังสือรู้จักประชาคมอาเซียน วิทย์ บันฑิตกุล ; เรีบยเรียง พิมพ์ที่ ; บริษัทวีพริ้นท์ ( 1991 ) จำกัด
เนื้อหาทำให้รู้เกี่ยวกับอาเซียนเพิ่มขึ้นมากเลย
ตอบลบเนื้อหาสาระดีมากจร้า
ตอบลบมีความรู้เลย
ตอบลบความรู้เข้าสมองเลยอ่ะ
ตอบลบอ่านไว้ ๆ จะเข้า AEC และ
ตอบลบได้ความรู้ที่ดี
ตอบลบเนื้อหาสาระดีมากค่ะ
ตอบลบเนื้อหาน่าสนใจ
ตอบลบข้อมูลแน่มาก
ตอบลบแน่นเลยค้ะ
ตอบลบสวยๆ
ตอบลบ